Author Archives: admin

เมื่อเรามีอาการปวดฟัน

เมื่อเรามีอาการปวดฟัน จะเป็นอาการปวดที่ทรมานอย่างหนึ่ง แต่เมื่อยังไม่สะดวกที่จะไปพบทันตแพทย์ เรามาดูวิธีการบรรเทาอาการปวดฟัน ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ดังนี้ 1.รับประทานยาแก้ปวด เพื่อลดอาการปวดชั่วคราว หลังจากอาการดีขึ้น อย่ารอให้ปวดอีก ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการหาต้นเหตุและรักษาอาการปวดฟัน 2.หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสจัด เย็นจัดหรือร้อนจัด ที่อาจจะไปกระตุ้นให้มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น 3.ทานอาหารอ่อน เพื่อลดการกระทบกันของฟัน และควรใช้แรงบดเคี้ยวให้น้อยที่สุด 4.พยายามหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารด้านที่ปวด เพื่อลดการกระตุ้นไม่ให้เกิดอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น 5.พยายามแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันตามปกติ ส่วนในบริเวณที่มีอาการปวด ก็ควรแปรงเบาๆ เพื่อลดการกระทบกระเทือนฟันซี่นั้น 6.บ้วนปากด้วยน้ำอุ่นๆ 7.ที่สำคัญ ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำ ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจฟันหาปัญหาภายในช่องปาก ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดฟันในอนาคต 8.งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

คราบหินปูน

คราบหินปูน คราบหินปูน เกิดจากแผ่นคราบจุลินทรีย์ในปัจจุบันมีชื่อใหม่อีกว่า Biofilm โดยจะเกิดขึ้นไม่นานนักภายหลังการแปรงฟันหรือการทำความสะอาดในช่องปาก แรกเริ่มจะมีเมือกใสน้ำลายมาเกาะที่พื้นผิวฟัน จากนั้นจุลินทรีย์ในช่องปากจะตามมาเกาะทับถมกันจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ของจุลินทรีย์ ซึ่งจุลินทรีย์ที่อยู่ในแผ่นคราบนี้ก็จะใช้น้ำตาลที่เรารับประทานไป มาสร้างกรดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดฟันผุและสารพิษที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบที่เหงือก สังเกตได้จากเหงือกมีสีแดง บวมและเลือดออกง่าย เมื่อเราปล่อยแผ่นคราบจุลินทรีย์สะสมรอบๆฟันเป็นเวลานาน ก็จะถูกแร่ธาตุในน้ำลายที่อยู่ในช่องปากจับตัวตกตะกอนแข็งตัวเป็นหินน้ำลายที่เกาะแน่นกับผิวฟัน ซึ่งเราอาจพบทั้งที่อยู่เหนือเหงือกและใต้เหงือก โดยการเกิดหินปูนนี้ไม่จำเป็นว่าจะเกิดเฉพาะในผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ก็ยังสามารถพบในเด็กได้เช่นกัน การที่จะกำจัดคราบหินปูนนี้ ก็ไม่สามารถทำได้ด้วยการแปรงฟันตามปกติ ต้องมาพบทันตแพทย์ เพื่อทำการขูดหินปูน โดยหินปูนสามารถขึ้นได้ทั้งในฟันน้ำนมและฟันแท้ ภายหลังการขูดหินปูนใหม่ๆ อาจจะมีเลือดซึมออกจากขอบเหงือกหรือมีอาการเสียวฟันได้ ดังนั้นหลังการขูดหินปูน ควรจะแปรงฟันอย่างระมัดระวังและให้สะอาด ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะหายได้เองในภายหลัง โดยปกติแล้ว ทันตแพทย์ก็จะแนะนำให้มาตรวจฟันและเหงือกเป็นประจำ ทุกๆ 6 เดือน เพื่อสุขภาพฟันและเหงือกที่ดีของเราเอง

ข้อดีของการฝัง “รากฟันเทียม”

ข้อดีของการฝัง “รากฟันเทียม” รากฟันเทียม คือ รากเทียมที่ทำจากโลหะไทเทเนียม ซึ่งเป็นโลหะชนิดหนึ่ง ที่มีความเข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อในร่างการมนุษย์ มีรูปร่างคล้ายสกรู มีขั้นตอนคร่าวๆโดยการผ่าตัดฝังเข้าไปในขากรรไกรและรอระยะเวลาให้รากเทียมเชื่อมยึดกับกระดูกดีแล้ว สามารถใช้รากเทียมเพื่อเป็นฐานยึด สำหรับ ครอบฟัน สะพานฟัน หรือ ฟันเทียมถอดได้ ซึ่งการฝังรากเทียม มีข้อดี ดังนี้ 1.สามารถทดแทนการสูญเสียฟันตั้งแต่ 1 ซี่ จนถึงหลายซี่ได้ 2.ไม่ต้องกรอฟันซี่ข้างเคียง เหมือนกับการทำสะพานฟัน 3.สามารถฝังรากฟันเทียมและใส่ฟันให้เสร็จภายในครั้งเดียว (เป็นบางกรณีที่สามารถทำได้) ไม่ต้องเสียเวลามาทำการรักษาหลายครั้ง

5 พฤติกรรมเสี่ยง “ฟันเหลือง” ที่เราอาจไม่รู้ตัว

5 พฤติกรรมเสี่ยง “ฟันเหลือง” ที่เราอาจไม่รู้ตัว 1. การทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสี ได้แก่ ชา กาแฟ ไวน์ น้ำอัดลม เป็นต้น แล้วละเลยการทำความสะอาดฟัน ทำให้สีจากอาหารเกาะตามแผ่นคราบจุลินทรีย์ สะสมจนเป็นคราบหินปูนสีเหลืองตามซอกฟันได้ 2. การสูบบุหรี่ ในควันบุหรี่จะมีสารประกอบต่างๆมากมาย รวมถึงน้ำมันดิน หรือ ทาร์ ที่ทำให้เกิดคราบเกาะตามผิวฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ฟันเหลืองได้ นอกจากนี้ยังทำให้มีกลิ่นปากได้ด้วย 3. การเลือกใช้แปรงสีฟันที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่ได้เปลี่ยนแปรงสีฟันตามระยะเวลาที่กำหนดหรือทุกๆ 3 เดือน ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดลดลง ซึ่งทำให้ไม่สามารถขจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์ได้ จนสะสมเป็นคราบตามผิวฟันได้เช่นกัน 4. การแปรงฟันไม่สะอาด ซึ่งเกิดจากการแปรงฟันที่ไม่ถูกวิธีหรือแปรงได้ไม่ทั่วถึง 5. ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ โดยเฉพาะในกรณีจัดฟัน ควรทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด รวมถึงการพบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนเป็นประจำด้วย

ทำไมคุณหมอไม่ถอนฟันในซี่ที่กำลังมีอาการปวดอยู่?

ทำไมคุณหมอไม่ถอนฟันในซี่ที่กำลังมีอาการปวดอยู่? อาการปวดฟันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคเหงือก ฟันผุ การติดเชื้อ เป็นต้น การเลือกการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ การถอนฟันเป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งในการรักษาซึ่งหากฟันซี่นี้สามารถเก็บไว้ใช้งานได้คงไม่มีใครต้องการถอนไม่ว่าจะเป็นคนไข้หรือทันตแพทย์ก็ตาม ยกเว้นปัญหาเรื่องระยะเวลาการรักษาและค่าใช้จ่าย การได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุของการปวดฟันโดยทันตแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญ การถอนฟันอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาเสมอไป การถอนฟันในซี่ที่ยังมีอาการบวม ติดเชื้อหรือมีหนองนั้น การฉีดยาชาลงไปบริเวณที่มีการอักเสบ จะทำให้ยาชาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้มีอาการปวดมากขึ้นในขณะที่ทำการถอนฟัน ดังนั้นคุณหมอมักจะแนะนำให้ทานยาเพื่อบรรเทาไปก่อน พออาการปวดลดลงแล้ว จึงค่อยกลับมาถอนฟัน แต่….ถ้ามีอาการบวมมาก ซึ่งถ้าคุณหมอพิจารณาแล้วว่า ถ้าปล่อยไว้อาจจะมีการติดเชื้อกระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นเหตุให้ต้องนอนโรงพยาบาลนั้น บางกรณีก็จะแนะนำให้ถอนฟันไปเลย เมื่อสาเหตุของการติดเชื้อถูกขจัดออกไปหรือมีทางระบายหนอง คนไข้ก็จะหายเร็วขึ้น

ผลเสียจากการทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด

ผลเสียจากการทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด อาหารหรือผลไม้ที่รสเปรี้ยวนั้น ซึ่งมักมีค่าความเป็นกรดมาก ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า กรดสามารถละลายผิวฟันได้ – ถ้าทานเป็นประจำ ก็จะทำให้ฟันสึกกร่อนได้ – หากมีการสึก จนมีอาการเสียวฟัน ควรพบทันตแพทย์ เพื่อทำการรักษา – ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เพื่อป้องการสึกของฟันที่เกิดจากกรดเหล่านี้ ดังนั้นภายหลังการรับประทานอาหารที่รสเปรี้ยวจัดแล้ว ควรบ้วนน้ำสะอาดทันที หรือบ้วนน้ำนมซักแก้วก็ได้ ฟันก็จะไม่กร่อนหรือกร่อนน้อยลง นอกจากนี้ไม่ควรแปรงฟันทันทีหลังรับประทานอาหารรสเปรี้ยว เพราะผิวฟันนั้นยังนิ่มจากการสัมผัสกรด เมื่อแปรงฟันก็ยิ่งทำให้ฟันสึกง่ายได้

ฟันผุ

ฟันผุ โรคฟันผุเป็นโรคที่มีการทำลายผิวฟัน เกิดขึ้นได้ทั้งในส่วนตัวฟันและรากฟัน ซึ่งในสภาวะปกตินั้น ภายในช่องปากจะมีกระบวนการแลกเปลี่ยนแร่ธาตุระหว่างชั้นผิวเคลือบฟันกับน้ำลายตลอดเวลาอย่างสมดุล ทำให้ไม่มีการสูญเสียแร่ธาตุออกจากผิวฟัน แต่ในภาวะที่ภายในช่องปากมีจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายอาหารแป้งและน้ำตาล จะเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของน้ำลายเป็นกรด ทำให้สูญเสียแร่ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสออกจากตัวฟันมากกว่าการได้รับกลับคืน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นบ่อยจะทำให้เกิดฟันผุเป็นรูได้ ถ้าปล่อยให้มีการผุลุกสามมากขึ้นจนถึงชั้นประสาทฟัน ก็จะทำให้มีอาการปวดฟัน ดังนั้นวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคฟันผุ คือ – ลดการรับประทานอาหารระหว่างมื้อให้น้อยลงในระหว่างวัน เพื่อลดเวลาที่ฟันต้องสัมผัสกรด ซึ่งกรดจะสร้างขึ้นทุกครั้งหลังการทานอาหารหรือขนมหวาน โดยเฉพาะอาหารหวานและเหนียวติดผิวฟัน – อาจใช้น้ำยาบ้วนปาก เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของโรคฟันผุ – รับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซี เพื่อช่วยลดการเกิดภาวะเลือดออกตามไรฟัน และผักที่มีเส้นใยสูง ซึ่งใยอาหารเหล่านี้จะช่วยขัดฟันให้ขาวสะอาดได้ด้วย – แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์และใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน เพื่อลดแผ่นคราบจุลินทรีย์และแบคทีเรียในช่องปาก

โรคฟันผุ

โรคฟันผุก็คือ โรคของฟันที่มีเนื้อฟันถูกทำลายไป โดยมีการทำลายแร่ธาตุที่เป็น องค์ประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อเหล่านี้ จนทำให้เกิดเป็นรูหรือโพรงที่ตัวฟัน โดยปกติ ภายในช่องปากจะมีกระบวนการแลกเปลี่ยนแร่ธาตุระหว่างตัวฟัน และแร่ธาตุที่มีอยู่ใน น้ำลายตลอดเวลา โดยจะมีทั้งการสูญเสียแร่ธาตุจากตัวฟัน และการคืนกลับแร่ธาตุสู่ตัวฟัน ในสภาวะที่สภาพในช่องปากเป็นกลาง ก่อนที่จะเกิดรูผุบนฟันที่มองเห็นได้ ฟันผุในระยะเริ่มแรก สังเกตได้โดย 1. จะสังเกตเห็นลักษณะสีขาวขุ่นที่บริเวณผิดฟันหรือร่องฟัน 2. ในระยะนี้ จะยังไม่มีอาการใดๆ นอกจากการมองเห็น 3. ยังไม่ต้องทำการรักษาด้วยการอุดฟัน 4. สามารถป้องกันไม่ให้รอยสีขาวขุ่นลุกลามได้ โดยการแปรงฟันให้สะอาดด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวฟันหรือร่องฟัน หรือพบทันตแพทย์ เพื่อพิจารณาใช้ฟลูออไรด์แบบทาเฉพาะที่ในคลินิก

จริงหรือ? เวลาแปรงฟัน ต้องแปรงแรงๆ ฟันจะได้สะอาด

จริงหรือ? เวลาแปรงฟัน ต้องแปรงแรงๆ ฟันจะได้สะอาด การแปรงฟันเป็นวิธีที่สามารถทำความสะอาดฟันได้สะอาดประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนบริเวณซอกฟัน ควรใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อให้ทำความสะอาดซอกฟันได้ดี เช่น ไหมขัดฟัน และแปรงซอกฟัน แต่มีคนหลายคนที่รักษาความสะอาดช่องปากดีมาก และกังวลว่าจะแปรงไม่สะอาด จึงอาจจะออกแรงมาก เพื่อพยายามทำให้ฟันสะอาด ซึ่งทำให้เกิดผลเสีย ดังเช่น 1.คอฟันสึก บริเวณคอฟันเป็นส่วนที่มีชั้นเคลือบฟันบางกว่าบริเวณตัวฟัน ทำให้ส่วนใหญ่จะพบสึกในบริเวณนี้มากกว่าส่วนอื่นของตัวฟัน ในบางครั้งถ้าปล่อยไว้ ก็อาจะทำให้รอยสึกลึกจนถึงโพรงประสาทฟันแล้วทำให้เกิดอาการปวดฟันได้ 2.ทำให้เหงือกร่น การแปรงฟันแรง ๆ จะส่งผลให้เนื้อเยื่อเหงือกเสียหายและร่นขึ้นไปจนกลายเป็นเหงือกร่นได้ ทำให้มีอาการเสียวฟันเวลาแปรงฟัน หรือทานน้ำร้อน น้ำเย็นได้ ดังนั้นเราจึงควรวิธีการที่จะป้องกันอาการเหล่านี้ได้ โดยการ – แปรงฟันให้ถูกวิธี ใช้วิธีแปรงในจังหวะขยับแนวแนวแบบสั้นๆ แล้วเปลี่ยนท่าเป็นแปรงขึ้นหรือลงจากเหงือกออกไปที่ปลายฟัน – อย่าแปรงฟันแรงจนเกินไป – เลือกใช้แปรงสีฟันที่ขนแปรงนุ่มกำลังดี อย่าแข็งจนเกินไป และเปลี่ยนแปรงทุกๆ 3 เดือนเป็นอย่างน้อย – เลือกใช้ยาสีฟันที่มีผงขัดไม่หยาบเกินไป

ปวดฟัน

ปวดฟัน เป็นอาการปวดที่ทรมานอย่างหนึ่ง เมื่อยังไม่สะดวกที่จะไปพบทันตแพทย์ เรามาดูวิธีการบรรเทาอาการปวดฟัน ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง 1.รับประทานยาแก้ปวด เพื่อลดอาการปวดชั่วคราว หลังจากอาการดีขึ้น อย่ารอให้ปวดอีก ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาต้นเหตุของอาการปวดฟัน 2.หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสจัด เย็นจัดหรือร้อนจัด 3.ทานอาหารอ่อน เพื่อลดการกระทบกันของฟัน และควรใช้แรงบดเคี้ยวให้น้อยที่สุด 4.พยายามหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารด้านที่ปวด เพื่อลดการกระตุ้นไม่ให้เกิดอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น 5.พยายามแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันตามปกติ ส่วนในบริเวณที่มีอาการปวด ก็ควรแปรงเบาๆ เพื่อลดการกระทบกระเทือนฟันซี่นั้น 6.บ้วนปากด้วยน้ำอุ่นๆ 7.ที่สำคัญ ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำ ทุกๆ 6 เดือน 8.งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ย้อนกลับด้านบน