Author Archives: admin

ทำไมต้อง “ผ่าฟันคุด”

ทำไมต้อง “ผ่าฟันคุด” ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก อาจจะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ หรือโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน บริเวณที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งฟันซี่นี้อาจโผล่ขึ้นอยู่ในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวระนาบ นอกจากนี้ฟันซี่อื่น ๆ ก็อาจจะคุดได้ เช่น ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยแต่พบได้น้อยกว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึงสาเหตุของฟันคุด มักเกิดจากขากรรไกรไม่มีพื้นที่เพียงพอให้ฟันซี่สุดท้ายขึ้นมาในช่องปาก หรือมีซี่ฟันบางซี่ขวางอยู่ ทำให้ฟันไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ ไม่ใช่ว่าฟันกรามล่างซี่ในสุดทุกซี่จะต้องถูกถอนออก หากฟันสามารถงอกออกมาได้และตั้งตรง ก็ไม่จำเป็นต้องไปยุ่งกับฟันกรามซี่นั้น ๆ แต่อย่างใด ตราบใดที่สามารถแปรงฟันทำความสะอาดอย่างทั่วถึง แต่ถ้าฟันงอกออกแบบเอียงจนทำให้คุณทำความสะอาดฟันกรามยาก เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้ฟันผุในซอกฟันและเหงือกอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนองได้ ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คาง หรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

มีความจำเป็นแค่ไหน ที่ต้องถอนฟันก่อนการจัดฟัน

มีความจำเป็นแค่ไหน ที่ต้องถอนฟันก่อนการจัดฟัน การจัดฟันนั้น คือ การใช้แรงขยับฟันที่มีการซ้อนเกหรือมีช่องว่าง ให้มีการจัดเรียงตัวปกติตามแนวของขากรรไกร ซึ่งในกรณีที่มีฟันห่างนั้น อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องถอนฟัน เพราะมีเนื้อที่เพียงพอให้ฟันเลื่อนเข้ามาในช่องว่าง การถอนฟันไปอาจจะทำให้ฟันหลุบเข้าไปด้านในมากเกินไปก็เป็นไปได้ ส่วนในกรณีทีฟันซ้อนเก หรือมีฟันหน้ายื่นมาก อาจจำเป็นต้องถอนฟัน เพื่อจะได้มีพื้นที่ให้ฟันที่เหลือมีการขยับเรียงตัวที่สวยงามมากขึ้น **แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์ทางจัดฟัน

อันตรายจากการจัดฟันแฟชั่น

อันตรายจากการจัดฟันแฟชั่น 1.ร่างกายอาจมีการติดเชื้อได้เนื่องจากอุปกรณ์จัดฟันที่ใช้อาจไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี 2.ถ้าติดเชื้อเรื้อรังก็อาจทำให้ติดเชื้อรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดได้ 3. ร่างกายอาจได้รับสารพิษต่างๆเนื่องจากอุปกรณ์จัดฟันไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน 4. มีผลเสียกับฟันและเนื้อเยื่อในช่องปาก เนื่องจากการจัดฟันที่ผิดวิธี เช่น ฟันเรียงตัวผิดปกติ เกิดฟันตาย เหงือกร่น เป็นต้น 5.เกิดฟันผุ เหงือกอักเสบ และมีกลิ่นปาก ถ้าไม่ได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง 6.อุปกรณ์จัดฟันที่ไม่ได้มาตรฐานอาจจะหลุดกลืนลงคอส่งผลต่ออวัยวะต่างๆที่เกี่ยวข้องได้

ฟันปลอม

เมื่อคุณต้องใส่ฟันปลอมทราบหรือไม่ว่าฟันปอมมีกี่แบบ ฟันปลอมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด 1. ฟันปลอมแบบถอดได้ 2. ฟันปลอมแบบติดแน่น ฟันปลอมแบบถอดได้ แบ่งออกเป็น -ฟันปลอมถอดได้บางส่วนฐานพลาสติก -ฟันปลอมถอดได้บางส่วนโครงโลหะ -ฟันปลอมถอดได้ทั้งปากฐานพลาสติก -ฟันปลอมถอดได้ทั้งปากโครงโลหะ -ฟันปลอมถอดได้บางส่วนแบบพลาสติกยืดหยุ่น Valplast ฟันปลอมแบบติดแน่น -ครอบฟัน -สะพานฟัน -รากฟันเทียมร่วมกับครอบฟัน -รากฟันเทียมร่วมกับสะพานฟัน -รากฟันเทียมร่วมกับฟันปลอมแบบถอดได้

ทำความเข้าใจก่อนใส่รีเทนเนอร์

  ทำความเข้าใจก่อนใส่รีเทนเนอร์   ปกติเมื่อใส่รีเทนเนอร์ในช่วงแรกๆจะมีน้ำลายมากพูดไม่ชัด เนื่องในช่องปากกำลังอยู่ในช่วงปรับสภาพ ควรทำความสะอาดรีเทนเนอร์ทุกครั้งหลังแปรงฟัน ควรเก็บรักษารีเทนเนอร์อย่างดี ถ้าไม่ใส่ไว้ในช่องปากต้องเก็บใส่กล่องพลาสติก เก็บให้พ้นจากมือเด็กหรือสัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันไม่ให้รีเทนเนอร์เกิดความเสียหาย หากรีเทนเนอร์ชำรุดต้องแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบเพื่อช่วยแก้ไขซ่อมแซม อย่าทนใส่เพราะกลัวเสียงเงินจะยิ่งทำให้มีปัญหาและเสียงเงินมากกว่าความจำเป็น สุดท้ายแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดฟันคงหนีไม่พ้น วินัยในการดูแลเอาใจใส่และปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ หากคุณใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอก็จะมีฟันที่สวยงามตลอดไป แต่ถ้าหากละเลยก็ต้องเสียเงินจัดฟันใหม่ต่อไปเรื่อยเรื่อย   ความถี่ของการใส่รีเทนเนอร์

อาหารที่มีประโยชน์ช่วยให้คุณมีรอยยิ้มที่มั่นใจ

  อาหารที่มีประโยชน์ช่วยให้คุณมีรอยยิ้มที่มั่นใจ 1. ผักใบเขียวและผลไม้ที่มีกากใย จะช่วยขัดฟันทำให้ลดการเกาะติดของเศษอาหาร 2. ผลไม้ที่มีวิตามินสูงช่วยลดการเกิดเลือดออกตามไรฟัน 3. ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อให้ดีต่อสุขภาพร่างกาย นอกจากอาหารที่กล่าวมาแล้วเราต้องแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอด้วยนะคะ

ขั้นตอนการจัดฟัน

  ขั้นตอนการจัดฟัน 1.ปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อวางแผนการจัดฟัน โดยทันตแพทย์จะให้คำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติ การดูแล รวมถึงพูดคุยรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมด 2.พิมพ์ปากทำแบบจำลองฟัน เพื่อดูการสบฟัน โครงสร้างฟัน และเอกซเรย์ฟัน เพื่อดูลักษณะกระดูกขากรรไกร 3.ทำการเคลียร์ช่องปาก เช่น การขูดหินปูน การอุดฟัน และการถอนฟัน 4.ทำการติดเครื่องมือจัดฟันและนัดหมายมาพบเดือนละครั้ง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนเครื่องมือ / ยางดึงฟัน 5.หมั่นดูแลรักษาและแปรงฟันให้สะอาดเป็นพิเศษ และขูดหินปูนเป็นประจำ ทุกๆ 6 เดือน 6.หลังจัดฟันเสร็จและถอดเครื่องมือแล้ว ทันตแพทย์จะให้ใส่รีเทนเนอร์ เพื่อคงสภาพตำแหน่งของฟันหลังการถอดลวดจัดฟันแล้ว

6 ขั้นตอนดูแลฟันระหว่างการจัดฟัน

  6 ขั้นตอนดูแลฟันระหว่างการจัดฟัน 1.แปรงฟันทุกวัน แปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหารรวมถึงก่อนนอน 2.ใช้ไหมขัดฟัน ใช้ไหมร่วมกับที่ร้อยไหมทุกครั้งก่อนการแปรงฟันและก่อนนอน 3.เลือกแปรงสีฟัน ควรเลือกใช้แปรงสีฟันที่ออกแบบมาเฉพาะคนจัดฟัน 4.ใช้แปรงซอกฟัน ร่วมกับการแปรงฟัน เพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดตามซอกเครื่องมือ 5.ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก ควรเลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์และอาจใช้น้ำยาบ้วนปากร่วมกับการทำความสะอาดตามปกติได้เช่นกัน 6.พบทันตแพทย์และขูดหินปูน พบทันตแพทย์ตามนัดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งและควรขูดหินปูนทุกๆ 6 เดือน

นิสัยที่มีผลต่อการเรียงตัวของฟัน

นิสัยที่มีผลต่อการเรียงตัวของฟัน – การดูดนิ้ว เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของเด็ก แต่หากมีการดูดนิ้วจนติดเป็นนิสัย จนถึงเมื่ออายุ 3 ขวบ อาจก่อให้เกิดปัญหาในการเคี้ยวได้ โดยจะรบกวนการเจริญเติบโตของฟันและเหงือก ในบางรายอาจพบว่ามีปัญหาฟันสบเปิด โดยจะเกิดเป็นช่องว่างระหว่างฟันบนและฟันล่างในบางบริเวณ ในขณะที่ฟันซี่อื่นๆ สบได้ปกติ – การหายใจทางปาก มักพบเมื่อมีการรบกวนระบบทางเดินหายใจ เช่น ภูมิแพ้ ต่อมทอลซินอักเสบ เป็นต้น ถ้าเป็นในเด็กที่ยังมีการเจริญเติบโตของขากรรไกรอยู่ ก็จะทำให้เกิดภาวะใบหน้ายาวและแคบ ฟันหน้าบนงุ้ม ขากรรไกรล่างพัฒนาไม่เต็มที่ได้ – แทะเล็บ กัดเล็บ ส่วนใหญ่มักเกิดในภาวะที่มีความเครียด มีความกังวลกับอะไรบางอย่าง การกัดเล็บเป็นประจำยังส่งผลต่อสุขภาพฟันของลูกน้อยด้วย เพราะมันจะทำให้ฟันผิดรูป บิ่น และฟันไม่สวย – ลิ้นดุนฟันขณะกลืนน้ำลาย การกลืนน้ำลายที่ปกตินั้น ลิ้นจะแตะบริเวณกลางเพดานด้านในหลังฟันหน้าประมาณ 2 เซนติเมตร แล้วกลืนน้ำลายลงไปในลำคอ โดยใช้กล้ามเนื้อบริเวณคอเป็นหลัก แต่ในการกลืนน้ำลายที่ผิดปกตินั้น ลิ้นจะยื่นมาแตะบริเวณฟันหน้าบน หรือฟันหน้าล่าง โดยไม่สัมผัสบริเวณเพดานเลย กล้ามเนื้อที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นกล้ามเนื้อรอบริมฝีปาก โดยที่ริมฝีปากต้องปิดสนิท เพื่อช่วยปิดกั้นให้การกลืนสิ่งต่างๆ ลงสู่บริเวณคอได้ ถ้ากลืนผิดวิธี ลิ้นจะมาสัมผัสบริเวณฟันหน้าทุกครั้งที่กลืน และออกแรงดันฟันหน้าให้ยื่นออกไปเรื่อยๆ หรือฟันห่างออกเรื่อยๆ ซึ่งในแต่ละวันจะกลืนมากกว่า […]

สะพานฟัน

สะพานฟัน เป็นฟันปลอมชนิดติดแน่น ที่ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยจำเป็นจะต้องมีฟันซี่ข้างเคียงทั้งสองข้างเพื่อที่จะใช้เป็นฟันหลักเพื่อยึดสะพานฟัน มีข้อดีคือ มีความสวยงาม และเหมือนธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมชนิดถอดได้ การดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากและฟัน รวมทั้งสะพานฟันเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ไหมขัดฟันและอุปกรณ์ร้อยไหมขัดฟันร่วมด้วย โดยจะต้องใช้ทำความสะอาดฟันและสะพานฟันเป็นประจำทุกวัน ก่อนแปรงฟันตอนเย็น อย่างไรก็ตาม สำหรับท่านที่ใส่สะพานฟัน จำเป็นจะต้องไปพบทันตแพทย์ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยทั่วไป คือทุกๆ 6-12 เดือนเพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพช่องปาก และสะพานฟัน อย่างสม่ำเสมอ เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน

ย้อนกลับด้านบน